‘แบงก์ชาติ’ ล้างหนี้เรื้อรัง 5 แสนบัญชี หั่นดอกเบี้ยต่ำ 15% ปิดจบหนี้ 5 ปี

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ฝ่ายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ออกมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ทั้งการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมตลอดวงจรหนี้ทั้งหมด, แก้หนี้เรื้อรัง, คิดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงลูกค้า, กำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ (ดีเอสอาร์) ซึ่งทุกอย่างผ่านการหารือกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้เชี่ยวชาญในและต่างประเทศ หวังว่าเป็นการปรับเปลี่ยนสำคัญให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ แก้ไขตั้งแต่ต้นน้ำไปปลายน้ำ แก้หนี้เดิม และหนี้ใหม่ แต่การแก้หนี้ครัวเรือนเป็นเรื่องจำเป็นและต้องใช้เวลา

น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า หนี้ที่ต้องเร่งแก้ไขก่อนคือหนี้เรื้อรังเบื้องต้นที่มีอยู่ 5 แสนบัญชี คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 67 เป็นต้นไป โดยแนวทางแก้ไขคือถ้าเป็นกลุ่มหนี้เรื้อรังนาน 3 ปีย้อนหลัง ลูกหนี้จะได้รับแจ้งเตือนแนะนำให้จ่ายชำระหนี้ต่อเดือนให้มากขึ้น เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและปิดจบหนี้เร็วขึ้น ส่วนกลุ่มหนี้เรื้อรังรุนแรง 5 ปีย้อนหลัง เป็นลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์และกลุ่มธุรกิจรายได้น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน, ลูกหนี้นอนแบงก์รายได้น้อยกว่า 10,000 บาทจะได้รับดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี ต้องจบหนี้ภายใน 5 ปี

สำหรับเงื่อนไขแก้หนี้เรื้อรังหากเข้ามาตรการจะไม่สามารถเบิกเงินเพิ่มได้จนกว่าจะปิดจบหนี้ ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน และรายงานประวัติข้อมูลเครดิตบูโรว่าเข้าปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้มาตรการ ซึ่งหนี้เรื้อรังเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลวงเงินหมุนเวียน เช่น บัตรกดเงินสด สัญญาเงินกู้เบิกจ่ายได้เรื่อยๆ เป็นลูกหนี้ปกติแต่ปิดจบหนี้ไม่ได้ และไม่กำหนดขั้นต่ำ ลูกหนี้จ่ายแต่ดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น และเพดานดอกเบี้ย 25% ต่อปี หากจ่าย 2% โอกาสตัดเงินต้นไม่มี ถ้ากำหนดจ่ายขั้นต่ำ 3-4% จะมีโอกาสตัดเงินต้นได้บ้าง สิ่งที่ต้องการคือให้ลูกหนี้จ่ายปิดจบได้เร็วขึ้น มีโอกาสปิดหนี้ ภายใน 1 ปี จะประเมินผลกระทบเข้าร่วมมาตรการเพียงใดเพื่อปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่อไป

“ตัวอย่าง เช่น มีวงเงินกู้หมุนเวียน 15,000 บาท มีดอกเบี้ย 25% ต่อปี จ่ายชำระขั้นต่ำ 3% ของยอดคงค้าง สมมุติว่าไม่มีการเบิกใช้วงเงินเพิ่ม หากไม่เข้าปรับหนี้ภายใต้มาตรการแก้หนี้เรื้อรัง จ่ายชำระ 3% ของยอดคงค้าง ไม่ต่ำกว่า 100 บาท จะปิดหนี้ได้ 18 ปี จ่ายดอกเบี้ยรวม 29,000 บาท ถ้าเทียบกับการเข้าปรับหนี้มาตรการแก้หนี้เรื้อรัง จะจ่ายเดือนละ 260 บาท เท่าเดือนก่อนหน้าที่จ่ายมา 5 ปี ย้อนหลังแต่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น ซึ่งหากเข้ามาตรการจะปิดหนี้ใช้เวลา 3 ปี 6 เดือน จะจ่ายดอกเบี้ยอีก 2,500 บาท รวมจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมด 17,500 บาท ประหยัดดอกเบี้ย 11,500 บาท”

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ลูกหนี้ต้องได้รับข้อมูลครบถ้วน ไม่กระตุ้นให้ก่อหนี้เกินตัว เมื่อจ่ายหนี้แล้ว ต้องมีเงินเหลือใช้ประจำวัน เปรียบเทียบดอกเบี้ยถ้าจ่ายขั้นต่ำหรือจ่ายเต็มจำนวนแตกต่างอย่างไร คาดจะออกแนวทางได้ไตรมาส 3 ปีนี้และมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 67 และมีแนวทางแก้หนี้เสีย ผลักดันให้เจ้าหนี้มีแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้ เช่น ให้ธนาคารของรัฐเร่งแก้หนี้เสียที่เกิดในช่วงโควิด (รหัส 21) ที่มี 3 แสนล้านบาท ให้นับเป็นตัวชี้วัดเคพีไอประเมินผลของแบงก์รัฐปี 66

ขณะที่การแก้หนี้ใหม่ จะให้คิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงผู้กู้ และจะกำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ต่อเดือน (ดีเอสอาร์) จากเฉลี่ยดีเอสอาร์ 70% ซึ่งปัญหาคนมีรายได้ 10,000 บาทจ่ายหนี้ 9,000 บาท เหลือใช้จ่าย 1,000 บาท หรือบางคนมีรายได้ 10,000 บาท จ่ายหนี้ 10,000 บาท ทำให้เงินไม่เหลือพอใช้ในชีวิตประจำวัน มีโอกาสเป็นหนี้เสียสูง โดย ธปท. จะกำหนดดีเอสอาร์ตามระดับรายได้ รายได้น้อยกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน หลังรวมหนี้ใหม่ต้องไม่เกิน 60% ถ้ามากกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน ดีเอสอาร์ต้องไม่เกิน 70% ธปท. จะบังคับใช้มาตรการดีเอสอาร์ เมื่อเศรษฐกิจเข้มแข็งเพียงพอ คาดเริ่ม 1 ม.ค. 68